มิติสิ่งแวดล้อม

-
คุณภาพอากาศจากปล่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน
- ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ระบายจากปล่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อน มีปริมาณสูงสุด 247.01 ส่วนในล้านส่วน ที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 2 ซึ่งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระบายออกสู่บรรยากาศในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกิน 260 ส่วนในล้านส่วน
- ปริมาณก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ที่ระบายจากปล่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั้ง 2 เครื่อง มีปริมาณสูงสุด 127.99 ส่วนในล้านส่วน ที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่องที่ 2 ซึ่งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนที่ระบายออกสู่บรรยากาศในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกิน 180 ส่วนในล้านส่วน
-
คุณภาพอากาศจากปล่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม
- ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ระบายจากปล่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม มีปริมาณสูงสุด 8.10 ส่วนในล้านส่วน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ระบายออกสู่บรรยากาศในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกิน 20 ส่วนในล้านส่วน
- ปริมาณก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ที่ระบายจากปล่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมมีปริมาณสูงสุด 86.42 ส่วนในล้านส่วน อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2547 ที่กำหนดให้ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนที่ระบายออกสู่บรรยากาศในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกิน 120 ส่วนในล้านส่วน

-
ผลคุณภาพน้ำทิ้งโรงไฟฟ้าราชบุรี ประจำปี 2565
- โรงไฟฟ้าราชบุรีดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้ง ได้แก่ เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) การนำไฟฟ้า ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) ปริมาณออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์(BOD) และ COD ที่บ่อพักน้ำที่ 2 (Retention Pond) ซึ่งเป็นบ่อพักน้ำสุดท้ายก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เพื่อเป็นการควบคุมและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกจากโรงไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง และมีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งที่ระบายออกเป็นประจำทุกเดือน
- ผลการตรวจวัดน้ำทิ้ง พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำมีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการระบายน้ำทิ้งลงทางน้ำชลประทานและทางน้ำที่ต่อเชื่อมกับทางน้ำชลประทานในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน คำสั่งกรมชลประทานที่ 73/2554 และมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งโรงงาน พ.ศ. 2560
-
ผลการตรวจวัดค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์(BOD)ในน้ำทิ้ง ที่ระบายจากโรงไฟฟ้า
- ผลการตรวจวัดค่าปริมาณออกซิเจนที่จุลชีพใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์(BOD)ในน้ำทิ้งที่ระบายจากโรงไฟฟ้า พบว่า มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการระบายน้ำทิ้งลงทางน้ำชลประทานและทางน้ำที่ต่อเชื่อมกับทางน้ำชลประทานในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน คำสั่งกรมชลประทานที่ 73/2554 และมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งโรงงาน พ.ศ. 2560
-
ผลการตรวจวัดปริมาณของแข็งละลายได้ทั้งหมด (TDS) ในน้ำทิ้งที่ระบายจากโรงไฟฟ้า
- ผลการตรวจวัดปริมาณของแข็งละลายได้ทั้งหมด (TDS) ในน้ำทิ้งที่ระบายจากโรงไฟฟ้า พบว่า มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานการระบายน้ำทิ้งลงทางน้ำชลประทานและทางน้ำที่ต่อเชื่อมกับทางน้ำชลประทานในเขตพื้นที่โครงการชลประทาน คำสั่งกรมชลประทานที่ 73/2554 และมาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งโรงงาน พ.ศ. 2560
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ได้ดำเนินการควบคุมดูแลคุณภาพสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด โดยได้สรุปผลการดำเนินงานไว้ในรายงานประจำปี ซึ่งนอกจากนี้ยังมีผลการดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ การดำเนินงานด้านความปลอดภัย และโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงาน ยังได้รวบรวมผลการดำเนินงานเพื่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อแผยแพร่และสื่อสารไปยังประชาชนที่สนใจ



